Saturday, April 4, 2009

สรุปการอธิปราย ขั้นตอน และ วิธีการจัดทำเว็บเควส และ เว็บไซต์อ้างอิง

จากการค้นคว้าของกลุ่มข้าพเจ้า พบว่า WebQuest นั้นมีหลากหลายรูปแบบ แต่มีวิธีการสร้าง 2 รูปแบบด้วยกัน คือ 1. WebQuest แบบที่สร้างขึ้นเอง และ 2.WebQuest ที่มีการสร้างโดยการปรับเปลี่ยนของผู้อื่น หรือ adapting ซึ่งต้องขออนุญาตผู้คิดค้นก่อน จึงนำมาปรับประยุกต์ให้ตรงกับความต้องการในการสื่อ และวัตถุประสงค์ของผู้เรียน
กระบวนการการออกแบบ WebQuest แบบสร้างขึ้นเอง
1. การเลือกหัวข้อ
การออกแบบ WebQuest ควรเริ่มต้นที่การเลือกหัวข้อให้เหมาะสมสำหรับ WebQuest เราควรวิเคราะห์และคำนึงถึงหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม ปัญหาและอุปสรรคของการทำงาน แนวความคิดพื้นฐาน เพราะไม่ใช่ว่าทุกหัวข้อจะเหมาะสมกับ WebQuest เสมอไปจึงควรวิเคราะห์หัวข้อให้เหมาะสมกับตรงกับหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ เมื่อนำมาทำ WebQuest ผู้เรียนจะได้ความรู้ที่ตรงและถูกต้อง เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนในการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี กล่าวโดยสรุปการทำ WebQuest เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จควรคำนึงถึง สี่ปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้ 1. Curriculum Standard การออกแบบ WebQuest จำเป็นที่จะต้องตรงและเหมาะสมกับมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษาของชาติ รัฐ หรือท้องถิ่น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 2. Creative Discontent ควรเลือกบทเรียนที่เคยสอนมาก่อน และคุณยังไม่พอใจกับมันเท่าที่ควรซึ่งจะทำให้ WebQuest นั้นมีประสิทธิภาพและ น่าสนใจ 3. Using the Web well ข้อมูลที่นำมาใช้นั้นควรใหม่และน่าสนใจ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ภาพที่สวยงาม เสียง และภาพเคลื่อนไหวในการเรียนการสอน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียนมากกว่าสื่อแบบสิงพิมพ์อื่นๆ 4. Understanding ควรเลือกหัวข้อที่เน้นการฝึกความคิดสร้างสรรค์ ควรเน้นระดับความเข้าใจของผู้เรียนในระดับสูง และเน้นให้ผู้เรียนได้ถ่ายทอดความคิดไปสู่สิ่งที่แตกต่างออกไป กล่าวโดยสรุป ในการเลือกหัวข้อ WebQuest เราควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆในข้างต้นเพื่อให้เราสามารถออกแบบWebQuest ของเราให้ดีและมีประสิทธิภาพ 2.เลือกรูปแบบกิจกรรม WebQuest ที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน เมื่อได้หัวข้อที่จะสอนและตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้แล้ว ลำดับต่อไปคือการเลือกใช้รูปแบบกิจกรรมของ WebQuest ที่มีอยู่อย่างหลากหลายให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน เช่น การเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ การสืบค้น การสำรวจหาข้อมูล การออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน การโน้มน้าวใจ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การวิเคราะห์ การใช้ตรรกะ และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ 3.เลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาปรับปรุง WebQuest เครื่องมือในการพัฒนาปรับปรุงนั้นมีอยู่อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าต้องการใช้แบบไหน เพราะแต่ละคนมีทักษะและเวลาแตกต่างกัน มี WebQuest template มากมายที่เราสามารถ Download ได้จากเว็บไซด์ หากบางคนที่ไม่มีทักษะในการทำ WebQuest ก็สามารถทำ PowerPoint จาก WebQuest ได้โดยง่าย 4.สร้างรูปแบบการประเมินผล ขั้นตอนต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ กิจกรรมและการประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมที่จัดให้นั้นจะต้องพัฒนาความรู้และทักษะของผู้เรียน และการประเมินผลจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเราจำเป็นต้องวัดและประเมินได้ว่าผู้เรียนได้รับอะไรหลังผ่านกระบวนการเรียนรู้นั้นแล้วและอยู่ในระดับใด
Rubrics เป็นเครื่องมือการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพในการประเมินประสิทธิภาพของนักเรียนในเรื่องที่มีความซับซ้อนและคลุมเครือ นักเรียนจำเป็นต้องรับผิดชอบงานของตนเอง โดยการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน / กระบวนการเรียนรู้ มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การประเมิน มีวิธีที่ให้คะแนนงานของนักเรียน เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการประเมินเกณฑ์ที่ซับซ้อนและที่เป็นอัตนัย สามารถแสดงเหตุผลอันเหมาะสมในการประเมินหรือให้คะแนน เป็น การประเมินผล ที่ตรงมากที่สุด การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการเรียนการสอน นักเรียนเองมีส่วนร่วมในการประเมิน Rubrics สามารถสร้างได้ในหลากหลายรูปแบบและระดับของความซับซ้อน แต่ทั้งหมดมี คุณสมบัติ ทั่วไปที่เหมือนกันคือ • มุ่งเน้นการวัดที่ระบุ วัตถุประสงค์ (ประสิทธิภาพพฤติกรรมหรือคุณภาพ) • ใช้ ช่วง ให้คะแนนประสิทธิภาพ • มีลักษณะเฉพาะของประสิทธิภาพ ที่มีมาตรฐาน ซึ่งมีตัวอย่างการให้คะแนน ด้วย เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างกฎ 5.พัฒนากิจกรรมใน WebQuest เมื่อได้หัวข้อ รูปแบบ และเครื่องมือการวัดผลประเมินผลแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำกิจกรรมใน WebQuest ผู้เรียนต้องได้รับคำสั่งหรือคำชี้แจงที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สิ่งที่ช่วยในการทำกิจกรรมนี้คือ การสร้างแหล่งเรียนรู้ การจัดทำข้อแนะนำสำหรับผู้เรียน
6. รวบรวมเข้าด้วยกัน
ขั้นตอนก่อนสุดท้ายคือการรวบรวมส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น เพิ่ม Introduction และ conclusion และแน่ใจว่าใส่ credits และส่วนเพิ่มเติมของครู ใส่ graphics ต่างๆที่จะดึงดูดผู้เรียน และตระหนักไว้เสมอว่าระดับอายุของผู้เรียนควรเหมาะสมกับเนื้อหาต่างๆที่เขียนขึ้นใน WebQuests คำศัพท์ที่ใช้ควรเหมาะสมสำหรับกลุ่มของผู้เรียน
เมื่อทำทุกอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วทบทวนทุกอย่างให้ถี่ถ้วนว่าครบหรือขาดเหลือสิ่งใด โดยใช้หัวข้อต่อไปนี้เป็นแนวทาง -บทนำ: ต้องดึงดูดความสนใจผู้เรียน ระบุขั้นตอนและให้รายละเอียดโดยรวมอย่างคร่าวๆ ดูองค์ประกอบทุกอย่างโดยรวมว่ามีลูกเล่น สวยงาม และครบถ้วนหรือไม่ -ออกแบบกิจกรรม: กิจกรรมต้องไม่ยากเกินไปและน่าสนใจ เช่น มีรูปแบบคำถามที่หลากหลาย สรุปความ ปัญหาให้แก้ไข การอภิปราย หรือออกแบบชิ้นงาน -แหล่งข้อมูล มีเนื้อหาสาระอะไรบ้างที่นักเรียนต้องได้ครบในแต่ละกิจกรรม เลือกเนื้อหาจากแหล่งที่เหมาะสม เช่นจากเว็บไซด์ หนังสือ เอกสาร และจากสื่อจริง -กระบวนการเรียนรู้ ทุกกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบใน WebQuest หรือไม่ ได้กำหนดกระบวนการเรียนรู้อย่างละเอียด เป็นลำดับขั้นตอนหรือไม่ -ข้อเสนอแนะ ผู้เรียนมีข้อเสนอแนะอะไรต่อWebQuest บ้าง ได้ระบุคำชี้แนะแนวทางให้นักเรียนหรือไม่ เช่น Checklist, timeline, concept map, course-effect diagrams, action plan guideline -การประเมินผล: จะประเมินผู้เรียนอย่างไร รูปแบบใดบ้าง และมีเกณฑ์การให้คะแนนอย่างไร -บทสรุป: บทสรุปของ เป็นอย่างไร บทสรุปได้ทำให้ผู้เรียนจำสิ่งที่ได้เรียนไปหรือไม่ -อื่นๆ: มีสิ่งใดบ้างที่ต้องการให้ดำเนินการต่อไป 7.การประเมินผล ก่อนเริ่มการใช้งาน ควรมีการทดลองดูว่า WebQuest ที่ทำนั้นมีประสิทธิภาพหรือมีข้อผิดพลาดใดหรือไม่ ดูองค์ประกอบทุกอย่างอย่างระมัดระวัง ลองเปิดใช้ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หรือให้นักเรียนช่วยทดลองการใช้งานแล้วสรุปผล หากพบข้อผิดพลาดก็รีบปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดีก็เริ่มการใช้งานได้เลย

กระบวนการสร้าง WebQuest แบบปรับเปลี่ยนของผู้อื่น หรือ การ adapting การสร้าง WebQuest ที่ไม่ต้องเริ่มสร้างเอง โดยการนำของผู้ที่คิดค้นสร้างขึ้นมาแล้ว นำมาปรับเปลี่ยนรูปแบบ ให้เหมาะสมกับงาน หรือวัตถุประสงค์ของผู้สอน ซึ่งมีWebQuests มากมาย ที่แสดงขึ้นในWeb ส่วนใหญ่ WebQuests แบบนี้ได้ถูกพัฒนาโดยคนที่รีบร้อน วัตถุประสงค์ของหัวข้อเรื่องนี้ ต้องการจะบอกกระบวนการขั้นตอนที่เอาข้อได้เปรียบของ WebQuest จำนวนมาก ที่ผู้อื่นสร้างไว้ เรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนที่มองเห็นได้ด้วยรูปของแผนภาพ ขั้นตอนที่ 1: เลือกมาตรฐานหรือหัวข้อ การเริ่มต้นที่ดีช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ต้องการให้ผู้เรียนของเรียนรู้และสามารถทำประสบการณ์สุดท้าย หัวข้อที่ดีย่อมเป็นที่ดึงดูดใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจูงใจของเว็บเมื่อเปิดเข้ามามองหาเว็บไซต์ที่น่าสนใจ ขั้นตอนที่ 2: การค้นหา WebQuests ที่มีอยู่ ค้นหา WebQuests ต่างที่ดีๆ ที่ได้รับเลือกจากการคัดเลือก แต่จำเป็นต้องพิจารณาว่า บางครั้งเว็บเควสเหล่านี้ไม่ได้รับการปรับปรุง นับตั้งแต่ขึ้นเว็บครั้งแรก ขั้นตอนที่ 3: ตรวจสอบว่าสามารถใช้เป็น อาจจะมีคนสร้าง WebQuest ที่ตรงตามความคิดสร้างสรรค์และเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ หากเป็นกรณีนี้ สามารถใช้โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย อีกโอกาสที่จะพบจากการสืบหาเนื้อหาที่ต้องการเพียงเล็กน้อยนำมา ปรับเปลี่ยนบทเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนและเนื้อหาที่ต้องการสอน อาจจะมีความเป็นไปได้ที่เราไม่สามารถพบ WebQuests ที่ต้องการ เราอาจะต้องกลับไปเริ่มต้นพิจารณาสิ่งที่แตกต่างกัน และมีความเป็นไปได้ที่เราอาจจะปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุง WebQuests เหล่านั้น หรือเราอาจจะพบบางสิ่งที่มีอยู่ใน WebQuests ที่สอนสิ่งที่ตรงกับที่สนใจ ขั้นตอนที่ 4: เลือกบรรดา WebQuests ที่มีศักยภาพ หากมีอย่างน้อยหนึ่งWebQuests ที่มีอยู่ ไม่ได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการ และเราตัดสินใจที่จะต้องการสร้าง WebQuest ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น WebQuests ที่ดีควรจะมีคุณสมบัติต่อไปนี้ 1. เชื่อมโยงทุกคนและทันสมัย. 2. ดึงดูดใจ และมีข้อผิดพลาดด้านเทคนิคน้อย. 3. งานเป็นที่ถูกใจและเพิ่มทักษะการคิดขั้นสูง 4. แนวทางการเรียนรู้เป็นตรงกับมาตรฐาน 5. อ่านง่ายตรงกับระดับของนักเรียนขั้นตอนที่ 5: ระบุการแก้ไขที่ต้องการ ศึกษาว่าแต่ละบทเรียนมีรายละเอียดและควรแก้ไข อย่างไร เพื่อการใช้ประโยชน์ จากWebQuest ที่เต็มรูปแบบ ขั้นที่ 6: ขออนุญาตผู้คิดค้น ในกรณีที่ผู้เขียน WebQuest ได้บอกอย่างชัดเจนว่าไม่อนุญาตให้แก่บุคคลอื่นแก้ไข และใช้งาน เราจำเป็นต้องขออนุญาตผู้คิดค้นเสียก่อน ขั้นที่ 7: ดาวน์โหลด WebQuest โปรแกรม Internet Explorer เป็นเบราเซอร์ที่ต้องการใช้ในการเปิด ใช้เวอร์ชันของ Netscape หรือ Mozilla ที่ทันสมัย ไปที่เว็บไซต์และดูใต้เมนู File ในบราวเซอร์ เลือก แก้ไขเพจ และจะมีสำเนาของเพจที่กำลังดูที่รวมถึงกราฟิกพร้อมที่จะแก้ไขเรียบเรียง ใน Netscape, Mozilla หรือเว็บแก้ไขที่เลือก ขั้นที่ 8: แก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพ ทำรายการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่ได้ระบุในเนื้อหา ขั้นที่ 9: ประเมินและปรับตามต้องการ จะต้องได้รับความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ได้ทำ เพื่อการปรับเปลี่ยนที่เหมาะสมขั้นตอนที่ 10: เผยแพร่และแบ่งปัน ปรับปรุงเป็นบทเรียนใหม่ เพื่อส่งออกไปยังที่อื่น
ตัวอย่าง WebQuests
นี่คือตัวอย่างของ WebQuests ที่มีอยู่ ซึ่งมีวิธีการสอนที่น่าสนใจ และมีความโดดเด่นในการออกแบบเป็นรูปแบบ WebQuests เพื่อการเรียนการสอนที่สามารถแก้ไขและปรับปรุงได้อย่างง่ายดาย และครอบคลุมเนื้อหาที่แตกต่างกัน ในขณะที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกันในแต่ละรูปแบบ การออกแบบรูปแบบ WebQuests เหล่านี้สามารถจัดในเงื่อนไขดังต่อไปนี้คือ 1.การออกแบบ 2.การตัดสินใจ 3.การสร้าง 4.การวิเคราะห์ และ5.การสร้างงานในระดับความคิดที่สูงขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 1. ออกแบบงาน ประกอบด้วย ชื่อชิ้นงาน คำอธิบายซึ่งมีแบ่งแยก สำหรับนักเรียน และสำหรับครูผู้สอน ว่าแต่ละคนควรทำอย่างไร วัตถุประสงค์ของการสอน และตัวอย่าง ของ เว็บเควส ซึ่งภายในที่ประกอบด้วย บทนำ งาน กระบวนการ การประเมินผล บทสรุป ความน่าเชื่อถือ และหน้าที่ของครู 2. การตัดสินใจในการทำงาน ประกอบด้วย คำอธิบาย สำหรับนักเรียน และสำหรับครู วัตถุประสงค์ของการสอน และตัวอย่าง ข้อบังคับในการใช้ คำจำกัดความ และความหลากหลาย3. การวิเคราะห์ งาน 4. การคาดคะเนงาน5. การสร้างงาน6. งานอื่นๆ
อ้างอิงจาก

http://webquest.sdsu.edu/designsteps/index.html /> http://webquest.sdsu.edu/rubrics/weblessons.htm />
http://webquest.sdsu.edu/processguides/ />
http://webquest.sdsu.edu/adapting/index.html />
http://www.eduscapes.com/sessions/travel/create.htm />


Friday, April 3, 2009

ขั้นตอน และ วิธีการจัดทำเว็บเควส และ เว็บไซต์อ้างอิง

ปัจจุบันนี้มีหลากหลายทางเลือกในการสร้าง WebQuests แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนา WebQuests นั้นมีกระบวนการซับซ้อนมากกว่าค่เพียงการจัดทำแผนการสอน WebQuestsที่มีประสิทธิภาพย่อมให้ผู้เรียนสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ในกาณศึกษาเรื่องกระบวนการและขั้นตอนในการจัดทำ Bernie Dodges ได้เสนอแนะกระบวนการในการออกแบบและจัดทำ WebQuests ดังต่อไปนี้

1. เลือกหัวข้อ
2.เลือกรูปแบบDesign
3. เลือกเครื่องมือในการพัฒนา
4.สร้างเครื่องมือวัดผล
5.พัฒนากระบวนการ
6.รวบรวมเข้าด้วยกัน
7.การประเมิน WebQuests

1. เลือกหัวข้อ
มีคำถามที่เราต้องตั้งคำถามก่อนที่จะเลือกหัวข้อที่มีประสิทธิภาพสำหรับ WebQuests ซึ่งจะช่วยให้เราระบุประเด็นและเลือกหัวข้อได้เหมาะสม
- สอนวิชาอะไร
- ต้องการข้อมูลภายนอกอะไร
- ต้องการแบ่งปันอะไร
- ต้องการความคิดอะไร
- ความยากคืออะไร
Bernie Dodges ได้อธิบายการเลือกหัวข้อว่าเป็นกระบวนการแต่ไม่ใช่ทุกหัวข้อนั้นเหมาะสมสำหรับ WebQuests เพราะว่าการพัฒนา WebQuests จำเป็นต้องใช้เวลามาก จึงจำเป็นต้องเลือกหัวข้อให้เหมาะสมกับมาตรฐาน ที่จะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้แบบ Inquiry-Based และงานที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี
2.เลือกรูปแบบDesign
เมื่อสามารถเลือกหัวข้อให้เหมาะสมได้แล้ว ต่อมาคือการที่เราจะเลือกรูปแบบการออกแบบ WebQuests ที่จะใช้ในการสอนทักษะและความคิดรวบยอด นักการศึกษาสามารถใช้ WebQuest Taskonony เพื่อออกแบบงานที่ทำให้ผู้เรียนใช้ข้อมูลในทางที่เต็มไปด้วยความคิด งานเหล่านี้ประกอบด้วย การเล่าเรื่อง ความลึกลับ การออกแบบ งานสร้างสรรค์ การชักชวน ความตระหนักรู้ในตนเอง การวิเคราะห์ การตัดสิน และวิทยาศาสตร์
หลังจากวิเคราะห์ WebQuests เขาก็ได้พัฒนา WebQuests Design Patterns ที่ถูกปรับเปลี่ยนสำหรับเนื้อหาที่ต่างกัน เพื่อช่วยในการสร้างกระบวนการพัฒนา WebQuests
3. เลือกเครื่องมือในการพัฒนา
มีหลากหลายเครื่องมือในการที่จะสร้าง WebQuests แบบมืออาชีพ ขื้นอยู่กับตัวคุณเองที่จะตัดสินใจว่าสิ่งใดเหมาะสมกับทักษะของคุณและเวลา
ในปัจจุบันนี้มี WebQuests Template สำเร็จรูปมากมายที่เราสามารถ Download คุณเพียงแค่เปิด WebQuests Template ใน a Web development tool และเพียงแค่ใส่เนื้อหาของคุณเพิ่มเติม
PowerQuest- PowerPoint-based WebQuest
บางคนไม่มีทักษะในการพัฒนา Web page แต่สามารถใช้งาน Power Point ได้อย่างสะดวกสบาย แต่ PowerQuest ไม่ใช่การนำเสนองานที่มี Bullet points เพียงอย่างเดียวแต่มีการใช้ A hyperlink functions ของโปรแกรม PowerPoint ในการสร้าง a dynamic environment ในการสร้าง inquiry-based learning
มีสองวิธีที่ดีในการสร้าง PowerQuest ทางเลือกแรก คือใช้ PowerPoint ในการเป็นทางเลือกในการสร้าง web page แต่ละ สไสด์ บรรจุส่วนประกอบของ WebQuests เช่น ช่วง Introduction หรือ ลำดับกระบวนการ
วิธีที่สองคือการใช้ PowerPoint เป็นเครื่องมือในการแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับนักเรียน ถามให้นักเรียนทำงานผ่าน PowerQuest ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่นเมื่อครูได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นและมอบหมายงานต่างๆทั้งห้องเรียน จากนั้นนักเรียนจะทำงานผ่านกระบวนการและบทบาทของตนในกลุ่มเล็ก
4.สร้างเครื่องมือวัดผล
ขั้นต่อไปในการสร้าง WebQuests คือการสร้างการวัดผล กิจกรรมใน WebQuests ต้องช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพในมาตรฐาน และการวัดผลว่าผู้เรียนสามารถแสดงศักยภาพในระดับที่คุณต้องการได้หรือไม่
5.พัฒนากระบวนการ
เมื่อคุณสามารถสร้างหัวข้อ มาตรฐาน ชิ้นงาน การออกแบบ และเครื่องมือการประเมินผลได้แล้วนั้น นี้เป็นเวลาที่เราจะเน้นเรื่องกระบวนการ ผู้เรียนต้องการเรียนการสอน และคำแนะนำเพื่อประสบความสำเร็จใน WebQuests ซึ่ง Bernie Dodge ได้พัฒนาตัวช่วยในการทำกระบวนการต่างๆนี้
Pre-Selecting Resources
นี่เป็นสิ่งสำคัญของการเลือกเว็บไซด์ที่มีประโยชน์สำหรับนักเรียนในการทำงานให้สมบูรณ์
Student Guides
ผู้เรียนต้องการความช่วยเหลือในการสร่างความเข้าใจและการรวมรวมข้อมูล The Taxonomy of Information Patterns ถูกสร้างเพื่อทำให้เข้าใจแนวทางที่หลากหลายว่าข้อมูลควรทำให้เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ เช่น แผนภูมิ เส้นเวลา ตาราง concept map เป็นต้น
6.รวบรวมเข้าด้วยกัน
ขั้นตอนสุดท้ายคือการรวบรวมส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น เพิ่ม Introduction และ conclusion และแน่ใจว่าใส่ credits และส่วนเพิ่มเติมของครู ใส่ graphics ต่างๆที่จะดึงดูดผู้เรียน
ตระหนักไว้เสมอว่าระดับอายุของผู้เรียนควรเหมาะสมกับสิ่งต่างๆที่เขียนขึ้นใน WebQuests คำศัพท์ควรเหมาะสมสำหรับกลุ่มของผู้เรียน
Review the Elements
ถ้าต้องการทบทวนส่วนประกอบต่างๆของ WebQuests กิจกรรมต่อไปนี้จะมีส่วนช่วยในการทบทวน
1. Focus on Introduction
คิดวิธีการในการแนะนำโครงงาน Introduction ควรกระตุ้นความสนใจ ปูความรู้เดิมแก่ผู้เรียน ควรพิจารณาสถานการณ์ รูปภาพ คำคม กลอน และบทเพลง ในการสร้างบรรยากาศ
2. Create the task
ชิ้นงานควรเป็นงานที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่นควรเป็นประเด็นคำถามที่เป็นชุดๆ ข้อสรุปที่สร้างขึ้นมา หรือเป็นปัญหาที่ให้ผู้เรียนได้แก้ไข
3. Information Resources
ควรเลือกแหล่งข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงและเหมาะสม เช่น web document, expert available via internet, searchable net databases, หนังสือ และ เอกสารอื่นๆ และสิ่งของจริง
4. Processes
ควรคำนึงถึงกระบวนการที่จะทำ WebQuests ให้เสร็จสมบูรณ์ จะแสดงผลเป็น ลิสต์กิจกรรม คำแนะนำเป็นขั้นตอน และเส้นเวลา
5. Learning Advice
ควรมีคำแนะนำสำหรับผู้เรียนในการใช้ WebQuests เช่น คำถามแนะนำ Checklist concept map, cause-effect diagrams หรือ Action plan guidelines
6. Evaluation
ควรพิจารณาว่านักเรียนจะมีการวัดผลอย่างไร จะเป็นแบบ Contract, checklist หรือ rubric
7. Conclusion
ควรพิจารณาว่าสรุปโครงงานนี้อย่างไร และมีการเตือนและกระตุ้นผู้เรียนในการเพิ่มเติมประสบการณ์ได้อย่างไร
8. Other Elements
ส่วนประกอบใดบ้างที่เราจะเพิ่มเติมใน WebQuests ควรพิจารณาถึง บทบาทสมมุติ Collaboration Guidelines และแหล่งข้อมูลของครู
7.การประเมิน WebQuests
ก่อนที่จะมีการใช้ WebQuests ในห้องเรียน ควรพิจารณาการประเมินตามวัตถุประสงค์ ระมัดระวังในเนื้อหา และ ความคาดหวังในด้านเทคนิคต่างๆ ลิงค์ต่างๆในทำงานหรือไม่ WebQuestsนั้นทำงานอย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถามครูและนักเรียนคนอื่นเพื่อประเมิน WebQuests

อ้างอิงจาก
W:\531Quest\WebQuestCreation.PDF

Sunday, March 29, 2009

สรุปการอภิปราย กลุ่มที่ 1

การเรียนการสอนผ่านเว็บ Web Based Instruction และ WebQuests
การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นการจัดระบบการเรียนการสอนผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนและครูผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กัน และเกิดการเรียนรู้จากการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล อภิปราย สรุปแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้ชิ้นงานของผู้เรียน การสอนผ่านเว็บเป็นที่รู้จักในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ ปี 1996 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเรียนการสอนผ่านเว็บ เพื่อการศึกษาทางไกลก็เริ่มแพร่หลายในมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกา และแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
จากหนังสือของ Khan (1997) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction ว่า เป็นระบบการเรียนการสอนแบบ Hypermedia-based ที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ เขาได้จำแนกส่วนประกอบที่สมบูรณ์ของระบบ WBI ซึ่งได้แก่ การพัฒนาเนื้อหา softwere, hardwere, และผู้จัดบริการอินเตอร์เน็ต คุณลักษณะของโปรแกรม WBI ถูกจำแนกโดยมีรูปแบบหลักๆ 2 รูปแบบคือ
1. รูปแบบหลักซึ่งปรากฏอยู่ในเว็บ เช่น การปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆทั่วโลก และความสามารถในการค้นหาข้อมูลแบบออนไลน์
2. รูปแบบเพิ่มเติม เช่น ความสะดวกสบาย การเรียนแบบร่วมมือ (Collabolative Learning) การประเมินผลแบบออนไลน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของการออกแบบ WBI
ข้อดีของ การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction คือ เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ สามารถใช้สื่อได้หลากหลาย ผู้เรียนได้สื่อสารปฏิสัมพันธ์กันซึ่งกันโดยผ่านทางเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ต ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สอนเห็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน นอกจากนี้ มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนที่เรียนโดยการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction และการเรียนการสอนรูปแบบเดิม พบว่า นักศึกษาที่เรียนทางการออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีกว่านักศึกษาที่เรียนรูปแบบเดิมในมหาวิทยาลัย แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instructionนี้ นั้นไม่ได้เหมาะสมสำหรับผู้เรียนทุกคน มีนักศึกษาและครูผู้สอนหลายคนชอบการเรียนการสอนในบรรยากาศห้องเรียนมากกว่า แต่สำหรับนักเรียนที่สามารถเรียนรู้เองและทำงานเองได้ตามลำพัง การเรียนทางไกลอาจจะเป็นทางที่ดีกว่าในทางอื่นๆ เพราะผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ทุกเวลาและสถานที่ ซึ่งเหมาะสมกับผู้เรียนที่ต้องทำงานควบคู่ไปกับการเรียน และค่อนข้างเหมาะกับผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย และระดับสูงขึ้นไป ด้วยเหตุนี้การบริหารเวลาเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นอย่างยิ่งเพราะผู้เรียนจำเป็นต้องแบ่งเวลาในการทำงานและการเรียนให้เหมาะสม หลักสูตรแบบออนไลน์นั้นยึดหยุ่นได้มากกว่าและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการเรียน (Learning Style) ของผู้เรียนได้เหมาะสมกับระดับ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนที่ค่อนข้างหลากหลายมากกว่าการเรียนแบบบรรยายในห้องเรียน หลักสูตรการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction จะมีพื้นฐานในการสอนให้แก้ปัญหาตามสภาพจริง (Solving Real World Problems) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการศึกษาทางไกล
อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction นั้นก็ข้อเสียบางประการ เช่น ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้ ผู้เรียนต้องรู้จักแบ่งและบริหารเวลาของตนเอง และต้องเป็นคนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ต้องรู้จัก update ข้อมูลต่างๆและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตลอดเวลา ต้องเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณและมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม ต้องรู้จักการทำงานด้วยตนเองตามลำพัง และนอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆอย่างสร้างสรรค์ นอกจากปัจจัยด้านตัวผู้เรียน ยังมีปัจจัยภายนอกด้านอื่นๆเช่น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่จำเป็นต้องสะดวกและรวดเร็ว เพราะเมื่อใดที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตล่ม การเรียนการสอนและการสื่อสารของผู้เรียนผู้สอนจะอาจจะมีอุปสรรค
การที่ครูและผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction ได้นั้น เราควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญในการเลือกเรียนผ่านเว็บ ดังต่อไปนี้ 1. ประการแรก ควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษานั้น และทั้งคณาจารย์ หลักสูตร ห้องสมุด ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่รองรับ 2. ประการต่อมาควรคำนึงถึงความพร้อมของตนเองด้าน Technical Skill และอุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย 3. ประการสุดท้าย นักศึกษาควรศึกษาเกี่ยวกับเวลาในการเรียน และการส่งงาน ซึ่งการเรียนการสอนผ่านเว็บนี้นั้นค่อนข้างยึดหยุ่นในเรื่องของเวลา ด้วยเหตุนี้นักศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะในการบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน WebQuests เริ่มมีบทบาทในการผสมผสานเทคโนโลยีและความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิด Inquiry-Based Learning นอกจากนี้ WebQuests ยังมีความสามารถในการรวบรวม แหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ กับการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ students-centered และ การเรียนการสอนผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) เข้าไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่ Sunal and Hass (2002) (อ้างใน Vanguri และคณะ (2004)) ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับ WebQuests กล่าวคือ WebQuests เป็นกิจกรรมในการสอนการแก้ปัญหา (Problem-solving activities) สำหรับนักเรียนที่สามารถรวบรวม แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต สื่อการเรียนการสอนในคอมพิวเตอร์ และแหล่งข้อมูลอื่นๆเข้าไว้ด้วยกัน
WebQuests กลายเป็นวิธีการสอนที่รวมเทคโนโลยีและ ความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน WebQuests เกิดจากการริเริ่ม ของ Bernie Dodge และ Tom March จาก San Diego State University ในปี 1995 Bernie Dodge ได้รวบรวมข้อมูลและแหล่งข้อมูล ทางอินเตอร์เน็ตที่สนับสนุน แผนการสอนของเขาให้แก่นักเรียน นวัตกรรมแปลกใหม่และสามารถเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางของเขาชิ้นนี้ นั้นมีความสามารถในการรวบรวม แหล่งข้อมูลแบบออนไลน์ กับการเรียนการสอนผ่านกิจกรรม การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงกับการเรียนรู้ผ่านเนื้อหา(Content-based Learning) ในรูปแบบ WebQuests อาจจะเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำเร็จของการเรียนรู้ทางเลือกให้แก่ผู้เรียนได้อีกวิธีการหนึ่ง Tom March ก็เป็นอีกหนึ่งในผู้พัฒนา WebQuests กล่าวว่า WebQuests นี้ช่วยให้นักเรียนสร้างความหมายของหัวข้อที่ซับซ้อน และเป็นแนวทางในการกระตุ้นให้นักเรียนสามารถทำงานและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน และสามารถตรวจสอบความรู้และความคิดของนักเรียนในบริบทที่แท้จริง มีการวิจัยอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้ WebQuests เช่น Lipscomb (2003) ได้วิจัยเกี่ยวกับการใช้ WebQuests ในห้องเรียนเกรดแปดวิชาสังคมศึกษา เพื่อจัดทำโครงงานเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่2 และศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอน และการใช้เวลาในการทำกิจกรรม เนื่องจากนักเรียนไม่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ WebQuests มาก่อน ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องจัดอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้ WebQuests เบื้องต้น เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองพบว่า นักเรียนสามารถสร้างสรรค์บทความเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่2 โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมใน บทเรียน WebQuests ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้กล่าวว่านอกจากในวิชาสังคมศึกษาแล้ว WebQuests ยังสามารถใช้ในวิชาอื่นๆได้อีกด้วย เช่นในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตช่วยให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมของ WebQuests กระบวนการที่จำเป็นในการสืบค้นข้อมูล คือ ความสามารถของครูผู้สอนในการสร้างเครื่องมือนำทาง (navigation) ผ่าน a web page story board ในกระบวนการนี้ครูผู้สอนต้องสามารถสร้าง flowchart ในการระบุความก้าวหน้าของนักเรียนตามโครงงานแบบ WebQuests การเรียนการสอนโดยใช้ WebQuests ยังคงเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จในการให้นักเรียนได้เชื่อมต่อกับสื่อการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ แต่สิ่งที่ควรตระหนักในเบื้องต้นคือ ครูผู้สอนควรตระหนักถึงความสำคัญในการตั้งปัญหา หรือกำหนดแผนงานสำหรับนักเรียนเพื่อให้สำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การตั้งปัญหาหรือแผนงานยังต้องการการกระตุ้นที่เพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนสามารถสืบค้นและอ้างอิงข้อมูลออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ครูผู้สอนควรตระหนักเกี่ยวกับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของผู้เรียน และตัวผู้สอนเองในการที่จะสร้างผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุปคือ Web based Instruction & WebQuest เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่จำเป็นต้องมี Modelในการออกแบบวิธีการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันซึ่งมีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่มากมาย มีการใช้ Word Wide Web และ Technology กับmodel ที่เตรียมไว้เพื่อสร้างเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่สำคัญยิ่งในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เสมือนดั่งขุมทรัพย์ข้อมูลข่าวสารที่สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บจึงเหมาะสมกับการจัดการศึกษาในปัจจุบันเพราะในกระแสแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ทั้งครูและผู้เรียนจำเป็นต้องก้าวให้ทันตามยุคตามสมัย เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนและพัฒนาการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างผู้เรียนเอง อย่างต่อเนื่องได้ตลอดเวลา แม้ในระยะทางห่างไกล

อ้างอิงจากhttp://www.emporia.edu/earthsci/web_inst.htm
www.chaiweb.com
http://www.ncolr.org/jiol/issues/PDF/3.2.5.pdf
http://questioning.org/module/module.html
http://www.moorbrook.demon.co.uk/guide.html