Sunday, March 29, 2009

สรุปการอภิปราย กลุ่มที่ 1

การเรียนการสอนผ่านเว็บ Web Based Instruction และ WebQuests
การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นการจัดระบบการเรียนการสอนผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนและครูผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กัน และเกิดการเรียนรู้จากการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล อภิปราย สรุปแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้ชิ้นงานของผู้เรียน การสอนผ่านเว็บเป็นที่รู้จักในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ ปี 1996 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเรียนการสอนผ่านเว็บ เพื่อการศึกษาทางไกลก็เริ่มแพร่หลายในมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกา และแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
จากหนังสือของ Khan (1997) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction ว่า เป็นระบบการเรียนการสอนแบบ Hypermedia-based ที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ เขาได้จำแนกส่วนประกอบที่สมบูรณ์ของระบบ WBI ซึ่งได้แก่ การพัฒนาเนื้อหา softwere, hardwere, และผู้จัดบริการอินเตอร์เน็ต คุณลักษณะของโปรแกรม WBI ถูกจำแนกโดยมีรูปแบบหลักๆ 2 รูปแบบคือ
1. รูปแบบหลักซึ่งปรากฏอยู่ในเว็บ เช่น การปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆทั่วโลก และความสามารถในการค้นหาข้อมูลแบบออนไลน์
2. รูปแบบเพิ่มเติม เช่น ความสะดวกสบาย การเรียนแบบร่วมมือ (Collabolative Learning) การประเมินผลแบบออนไลน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของการออกแบบ WBI
ข้อดีของ การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction คือ เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ สามารถใช้สื่อได้หลากหลาย ผู้เรียนได้สื่อสารปฏิสัมพันธ์กันซึ่งกันโดยผ่านทางเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ต ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สอนเห็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน นอกจากนี้ มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนที่เรียนโดยการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction และการเรียนการสอนรูปแบบเดิม พบว่า นักศึกษาที่เรียนทางการออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีกว่านักศึกษาที่เรียนรูปแบบเดิมในมหาวิทยาลัย แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instructionนี้ นั้นไม่ได้เหมาะสมสำหรับผู้เรียนทุกคน มีนักศึกษาและครูผู้สอนหลายคนชอบการเรียนการสอนในบรรยากาศห้องเรียนมากกว่า แต่สำหรับนักเรียนที่สามารถเรียนรู้เองและทำงานเองได้ตามลำพัง การเรียนทางไกลอาจจะเป็นทางที่ดีกว่าในทางอื่นๆ เพราะผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ทุกเวลาและสถานที่ ซึ่งเหมาะสมกับผู้เรียนที่ต้องทำงานควบคู่ไปกับการเรียน และค่อนข้างเหมาะกับผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย และระดับสูงขึ้นไป ด้วยเหตุนี้การบริหารเวลาเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction เป็นอย่างยิ่งเพราะผู้เรียนจำเป็นต้องแบ่งเวลาในการทำงานและการเรียนให้เหมาะสม หลักสูตรแบบออนไลน์นั้นยึดหยุ่นได้มากกว่าและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการเรียน (Learning Style) ของผู้เรียนได้เหมาะสมกับระดับ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนที่ค่อนข้างหลากหลายมากกว่าการเรียนแบบบรรยายในห้องเรียน หลักสูตรการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction จะมีพื้นฐานในการสอนให้แก้ปัญหาตามสภาพจริง (Solving Real World Problems) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการศึกษาทางไกล
อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction นั้นก็ข้อเสียบางประการ เช่น ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้ ผู้เรียนต้องรู้จักแบ่งและบริหารเวลาของตนเอง และต้องเป็นคนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ต้องรู้จัก update ข้อมูลต่างๆและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตลอดเวลา ต้องเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณและมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม ต้องรู้จักการทำงานด้วยตนเองตามลำพัง และนอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆอย่างสร้างสรรค์ นอกจากปัจจัยด้านตัวผู้เรียน ยังมีปัจจัยภายนอกด้านอื่นๆเช่น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่จำเป็นต้องสะดวกและรวดเร็ว เพราะเมื่อใดที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตล่ม การเรียนการสอนและการสื่อสารของผู้เรียนผู้สอนจะอาจจะมีอุปสรรค
การที่ครูและผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction ได้นั้น เราควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญในการเลือกเรียนผ่านเว็บ ดังต่อไปนี้ 1. ประการแรก ควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษานั้น และทั้งคณาจารย์ หลักสูตร ห้องสมุด ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่รองรับ 2. ประการต่อมาควรคำนึงถึงความพร้อมของตนเองด้าน Technical Skill และอุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย 3. ประการสุดท้าย นักศึกษาควรศึกษาเกี่ยวกับเวลาในการเรียน และการส่งงาน ซึ่งการเรียนการสอนผ่านเว็บนี้นั้นค่อนข้างยึดหยุ่นในเรื่องของเวลา ด้วยเหตุนี้นักศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะในการบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากการเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ Web Based Instruction ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน WebQuests เริ่มมีบทบาทในการผสมผสานเทคโนโลยีและความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิด Inquiry-Based Learning นอกจากนี้ WebQuests ยังมีความสามารถในการรวบรวม แหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ กับการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ students-centered และ การเรียนการสอนผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) เข้าไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่ Sunal and Hass (2002) (อ้างใน Vanguri และคณะ (2004)) ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับ WebQuests กล่าวคือ WebQuests เป็นกิจกรรมในการสอนการแก้ปัญหา (Problem-solving activities) สำหรับนักเรียนที่สามารถรวบรวม แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต สื่อการเรียนการสอนในคอมพิวเตอร์ และแหล่งข้อมูลอื่นๆเข้าไว้ด้วยกัน
WebQuests กลายเป็นวิธีการสอนที่รวมเทคโนโลยีและ ความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน WebQuests เกิดจากการริเริ่ม ของ Bernie Dodge และ Tom March จาก San Diego State University ในปี 1995 Bernie Dodge ได้รวบรวมข้อมูลและแหล่งข้อมูล ทางอินเตอร์เน็ตที่สนับสนุน แผนการสอนของเขาให้แก่นักเรียน นวัตกรรมแปลกใหม่และสามารถเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางของเขาชิ้นนี้ นั้นมีความสามารถในการรวบรวม แหล่งข้อมูลแบบออนไลน์ กับการเรียนการสอนผ่านกิจกรรม การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงกับการเรียนรู้ผ่านเนื้อหา(Content-based Learning) ในรูปแบบ WebQuests อาจจะเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำเร็จของการเรียนรู้ทางเลือกให้แก่ผู้เรียนได้อีกวิธีการหนึ่ง Tom March ก็เป็นอีกหนึ่งในผู้พัฒนา WebQuests กล่าวว่า WebQuests นี้ช่วยให้นักเรียนสร้างความหมายของหัวข้อที่ซับซ้อน และเป็นแนวทางในการกระตุ้นให้นักเรียนสามารถทำงานและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน และสามารถตรวจสอบความรู้และความคิดของนักเรียนในบริบทที่แท้จริง มีการวิจัยอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้ WebQuests เช่น Lipscomb (2003) ได้วิจัยเกี่ยวกับการใช้ WebQuests ในห้องเรียนเกรดแปดวิชาสังคมศึกษา เพื่อจัดทำโครงงานเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่2 และศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอน และการใช้เวลาในการทำกิจกรรม เนื่องจากนักเรียนไม่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ WebQuests มาก่อน ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องจัดอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้ WebQuests เบื้องต้น เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองพบว่า นักเรียนสามารถสร้างสรรค์บทความเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่2 โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมใน บทเรียน WebQuests ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้กล่าวว่านอกจากในวิชาสังคมศึกษาแล้ว WebQuests ยังสามารถใช้ในวิชาอื่นๆได้อีกด้วย เช่นในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตช่วยให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมของ WebQuests กระบวนการที่จำเป็นในการสืบค้นข้อมูล คือ ความสามารถของครูผู้สอนในการสร้างเครื่องมือนำทาง (navigation) ผ่าน a web page story board ในกระบวนการนี้ครูผู้สอนต้องสามารถสร้าง flowchart ในการระบุความก้าวหน้าของนักเรียนตามโครงงานแบบ WebQuests การเรียนการสอนโดยใช้ WebQuests ยังคงเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จในการให้นักเรียนได้เชื่อมต่อกับสื่อการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ แต่สิ่งที่ควรตระหนักในเบื้องต้นคือ ครูผู้สอนควรตระหนักถึงความสำคัญในการตั้งปัญหา หรือกำหนดแผนงานสำหรับนักเรียนเพื่อให้สำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การตั้งปัญหาหรือแผนงานยังต้องการการกระตุ้นที่เพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนสามารถสืบค้นและอ้างอิงข้อมูลออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ครูผู้สอนควรตระหนักเกี่ยวกับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของผู้เรียน และตัวผู้สอนเองในการที่จะสร้างผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุปคือ Web based Instruction & WebQuest เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่จำเป็นต้องมี Modelในการออกแบบวิธีการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันซึ่งมีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่มากมาย มีการใช้ Word Wide Web และ Technology กับmodel ที่เตรียมไว้เพื่อสร้างเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่สำคัญยิ่งในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เสมือนดั่งขุมทรัพย์ข้อมูลข่าวสารที่สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บจึงเหมาะสมกับการจัดการศึกษาในปัจจุบันเพราะในกระแสแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ทั้งครูและผู้เรียนจำเป็นต้องก้าวให้ทันตามยุคตามสมัย เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนและพัฒนาการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างผู้เรียนเอง อย่างต่อเนื่องได้ตลอดเวลา แม้ในระยะทางห่างไกล

อ้างอิงจากhttp://www.emporia.edu/earthsci/web_inst.htm
www.chaiweb.com
http://www.ncolr.org/jiol/issues/PDF/3.2.5.pdf
http://questioning.org/module/module.html
http://www.moorbrook.demon.co.uk/guide.html

No comments: