Wednesday, March 25, 2009

WebQuests

WebQuests คือการผสานเทคโนโลยีและ ความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) เพื่อให้เกิด Inquiry-Based Learning นอกจากนี้ WebQuests ยังมีความสามารถในการรวบรวม แหล่งข้อมูลออนไลน์ กับการเรียนการสอนแบบ students-centered และ การเรียนการสอนผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) ตามที่ Sunal and Hass (2002) (อ้างใน Vanguri และคณะ (2004)) WebQuests คือ Problem-solving activities สำหรับนักเรียนที่รวบรวม อินเตอรืเน็ต สื่อการเรียนการสอนในคอมพิวเตอร์ และแหล่งข้อมูลอื่นๆ
WebQuests กลายเป็นวิธีที่รวมเทคโนโลยีและ ความคิดทางการศึกษา (Educational Concept) ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน จากการริเริ่ม ของ Bernie Dodge และ Tom March จาก San Diego State University ในปี 1995 Bernie Dodge ได้รวบรวมข้อมูลและแหล่งข้อมูล ทางอินเตอร์เน็ตที่สนับสนุน แผนการสอนของเขา สิ่งประดิษฐ์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางของเขาชิ้นนี้ นั้นมีความสามารถในการรวบรวม แหล่งข้อมูลแบบออนไลน์ กับการเรียนการสอนผ่านกิจกรรม การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงกับการเรียนรุ้ผ่านเนื้อหา(Content-based Learning) ในรูปแบบ WebQuests อาจจะเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำเร็จ
Tom March ก็เป็นอีกหนึ่งในผู้พัฒนา WebQuests กล่าวว่า WebQuests นี้ช่วยให้นักเรียนสร้างความหมายของหัวข้อที่ซับซ้อน และเป็นแนวทางในการกระตุ้นให้นักเรียนสามารถทำงานร่วมกัน และตรวจสอบความคิดของนักเรียนในบริบทที่แท้จริง
มีการวิจัยอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้ WebQuests เช่น Lipscomb (2003) ได้วิจัยเกี่ยวกับการใช้ WebQuests ในห้องเรียนเกรดแปดเพื่อจัดทำโครงงานเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่2 และวิเคราะห์เกี่ยวกับด้านการเรียนการสอน และการใช้เวลาในการทำกิจกรรม เนื่องจากนักเรียนไม่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ WebQuests มาก่อน ครูผู้สอนจึงควรอบรมเกี่ยวกับการใช้ WebQuests เบื้องต้น เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองพบว่า นักเรียนสามารถสร้างสรรค์บทความโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมใน บทเรียน WebQuests ได้ นอกจากในวิชาสังคมศึกษาแล้ว WebQuestsยังสามารถใช้ในวิชาอื่นๆได้อีกด้วย เช่นในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตช่วยให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านกิจกรรมของ WebQuests กระบวนการที่จำเป็นในการสืบค้นข้อมูล คือ ความสามารถของครูผุ้สอนในการสร้างเครื่องมือนำทาง (navigation) ผ่าน a web page story board ในกระบวนการนี้ครูผู้สอนต้องสามารถสร้าง flowchart ในการระบุความก้าวหน้าของนักเรียนตามโครงงานแบบ WebQuests
การเรียนการสอนโดยใช้ WebQuests ยังคงเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จในการให้นักเรียนได้เชื่อมต่อกับสื่อการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ แต่สิ่งที่ควรตระหนักในเบื้องต้นคือ ครูผู้สอนควรตระหนักในการตั้งปัญหา หรือแผนงานสำหรับนักเรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ การตั้งปัญหาหรือแผนงานยังต้องการการกระตุ้นที่เพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนสามารถสืบค้นและอ้างอิงข้อมูลออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ครูผู้สอนควรตระหนักเกี่ยวกับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของผู้เรียน และตัวผู้สอนเองในการที่จะสร้างผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ
http://www.ncolr.org/jiol/issues/PDF/3.2.5.pdf

การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)

การสอนผ่านเว็บเป็นที่รู้จักในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ ปี 1996 (อ้างใน Aber, 2002) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเรียนการสอนผ่านเว็บ เพื่อการศึกษาทางไกลก็เริ่มแพร่หลายในมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2006 จะมีนักศึกษาประมาณสามล้านคนเรียนในระบบนี้
มีข้อโต้เถียงกันมากในเรื่องของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ตามที่มีการวิจัยเกี่ยวกับนักศึกษาและ ครูผู้สอนที่ใช้เวลาในการติดต่อสื่อสารกันตัวต่อตัวผ่านทางอีเมล์ มากกว่าการเรียนแบบบรรยายทั่วไป พบว่านักศึกษาที่เรียนทางออนไลน์มักเรียนได้ดีกว่านักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัย แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนระบบนี้นั้นไม่ได้เหมาะสมสำหรับทุกคน มีนักศึกษาและครูผู้สอนหลายคนชอบการเรียนการสอนในบรรยากาศห้องเรียนมากกว่า แต่สำหรับนักเรียนที่สามารถทำงานได้ตามลำพัง การเรียนทางไกลอาจจะเป็นทางที่ดีกว่าในทางอื่นๆ
หลักสูตรออนไลน์นั้นยึดหยุ่นมากกว่าและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการเรียน (Learning Style) ที่หลากหลายมากกว่า การเรียนแบบบรรยายในห้องเรียน หลักสูตรจะมีพื้นฐานในการสอนให้แก้ปัญหาตามสภาพจริง (Solving Real World Problems) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการศึกษาทางไกล การบริหารเวลาเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนประเภทนี้
ปัจจัยสำคัญในการเลือกเรียนผ่านเว็บ
1. ประการแรก ควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย และคณาจารย์ หลักสูตร ห้องสมุด
2. ประการต่อมาควรคำนึงถึงความพร้อมของตนเองด้าน Technical Skill และอุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย
3. ประการสุดท้าย นักศึกษาควรศึกษาเกี่ยวกับการส่งงาน ซึ่งการเรียนการสอนผ่านเว็บนี้นั้นค่อนข้างยึดหยุ่นในเรื่องของเวลา


http://www.emporia.edu/earthsci/web_inst.htm

Sunday, March 22, 2009

Welcome to my blog

Welcome to my new blog. My name is Warangkana Nimrasri. You can call me "Am". I am a new guaduate student at K.U., Faculty of Education. Nice to meet you.