ผลงานของข้าพเจ้า คือโครงการบทเรียนเว็บเควส ชั้นประถมศึกษาปีที่1กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ฟังมา...เล่าไป ซึ่งได้จากการศึกษาโครงสร้างหลักสูตรรายวิชา ภาษาไทย1 หลังจากที่กลุ่มของข้าพเจ้าร่วมกันออกแบบโครงสร้างหลักสูตรรายวิชาเสร็จ จึงเลือกหน่วยการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการทำ WebQuest โดยนำมาจาก สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด มาตรฐาน ท 3.1
ตัวชี้วัด 2 ตอบคำถาม และเล่าเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้ และ ความบันเทิง
ตัวชี้วัด 3 พูดแสดงความคิดเห็นและ ความรู้สึก จากเรื่องที่ฟังและดู
ตัวชี้วัด 4 พูดสื่อสารได้ตามวัตถุ ประสงค์
หลังจากที่กลุ่มของข้าพเจ้าร่วมกันออกแบบโครงสร้างหลักสูตรรายวิชาเสร็จ จึงเลือกหน่วยการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการทำ WebQuest โดยเน้นในสาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
ซึ่งข้าพเจ้าเล็งเห็นว่า นักเรียนควรเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัว และคุ้นเคย ซึ่งนิทานก็เป็นสิ่งที่นักเรียน ทุกคนคุ้นเคยและชื่นชอบ นอกจากนี้นิทานยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการและสามารถสอดแทรก คุณธรรมให้แก่นักเรียนได้เป็นอย่างดี การออกแบบโดยนำจุดประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งข้าพเจ้านำมาคิดหา Task ที่น่าจะเหมาะสมกับ วิชา ระดับอายุของผู้เรียน จึงตัดสินใจเลือก Design Task เพราะนักเรียนจะมีโอกาสได้ออกแบบวิธีการเล่านิทานตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
จากนั้นจัดวางโครงร่างเว็บเควสโดยเริ่มเขียนโครงการการจัดทำหน่วย/บทเรียนเว็บเควส กิจกรรมเว็บเควส เพื่อให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการเล่านิทาน เว็บไซต์หลายเว็บไซต์เลือกใช้ Web ที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของนักเรียน และเนื้อหาที่จะสอน โดยเลือกนิทานที่ดีทั้งทางด้านเนื้อหา มีภาพประกอบดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและ สอดแทรกคุณธรรมที่นักเรียนควรมี นอกจากนี้ ให้แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมสำหรับผู้เรียนที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม และตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนต้องได้ความรู้เพียงพอที่จะทำผลงานชิ้นสุดท้ายได้สำเร็จเช่น ตัวอย่างการเล่านิทานที่ดีและไม่ดีเพื่อให้นักเรียนเปรียบเทียบ และออกแบบกิจกรรมใน WebQuest ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ความรู้ด้วยการศึกษาด้วยตนเอง
เมื่อจัดหา Resources ได้แล้ว จึงเริ่มเขียนบทนำที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำงาน และเป็นการกล่าวจุดประสงค์ของ WebQuest ให้ทราบโดยทางอ้อม
จากนั้น จึงให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในProcess แต่ละขั้นตอน ครูจะประเมินผลงานจาก Rubic ตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดค่าคะแนนไว้ชัดเจนเมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งหมดสุดท้ายนักเรียนใช้ทักษะที่ได้เรียนมา
This blog is used for "Information Technology in Curriculum and Instruction Development" subject.
Monday, June 1, 2009
สรุปองค์ความรู้ รายวิชา 162531 – 2009”
จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาในรายวิชา 162531 เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน องค์ความรู้ต่างๆที่ข้าพเจ้าได้รับมีดังต่อไปนี้
ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนระบบออนไลน์ ทั้งทางด้านความหมายของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) blended Learning, E- learning และ WebQuest จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าและคนอื่นๆได้ศึกษามาจากการทำงานและการอภิปรายกลุ่มย่อย ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึงความหมาย ความแตกต่าง และความสำคัญของการจัดรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนในอนาคต
นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการในการสร้างBlog เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในตอนแรกข้าพเจ้าคิดว่าการทำ Blog มีใว้เพื่อความบันเทิงเพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนในวิชานี้นั้นทำให้ข้าพเจ้าสามารถนำมาปรับใช้ในสถานการณ์ในห้องเรียนได้จริง เช่น ข้าพเจ้าทำ blog ส่วนตัวเพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้ซักถามสิ่งที่ตนสงสัย ในเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาและวิชาเรียน และ ทำ blog ของชมรม Movie Club เพื่อให้นักเรียนในชมรมมีโอกาสได้พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพยนตร์ต่างๆที่ได้ชมมาในชมรม เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งนักเรียนจะต้องมา Post Comment ทุกครั้งหลังชมภาพยนตร์จบ ซึ่งช่วยฝึกฝนทักษะทางภาษาของนักเรียนได้ดีขึ้น แม้ว่าข้าพเจ้าจะเริ่มทำได้เพียงไม่กี่อาทิตย์ แต่ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่านักเรียนจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆที่ข้าพเจ้าพยายามทำให้นอกเหนือจากในห้องเรียน
ส่วนในเรื่องของ WebQuest นั้นในตอนแรก ถึงแม้ว่าเป็นคำมี่ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่จากการที่ได้ศึกษาในวิชานี้ข้าพเจ้าพบว่า WebQuest เป็นสิ่งใหม่และน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะแก่การจัดการเรียนการสอนในยุคเทคโนโลยี ซึ่งทำให้การเรียนการสอนไม่ถูกจำกัดในห้องเรียน
นอกจากข้าพเจ้า จะทำให้ข้าพเจ้านำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแล้วนั้น วิชานี้ยังได้พัฒนาตัวของข้าพเจ้าเพื่อให้ได้เรียนรู้ทักษะต่างๆจากการใช้งาน ระบบ MAXLEARN ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนในวิชาต่อๆไป ดังนี้
- ประการแรก สิ่งที่ต้องระวังและแก้ไขก่อนเสมอเมื่อใช้งาน ใน webboard คือ ต้องแก้กรอบสี่เหลี่ยมสีขาว ด้านบน
ที่อยู่ขวามือสุด เข้าไปแก้ไขที่ edit your preferences ให้เปลี่ยนเวลาจาก 7 วัน เป็น 99 วัน เพื่อให้แสดงได้ นาน 99 วัน หากไม่แก้ไขเมื่อเกินเวลาที่กำหนดให้ เราะจมองงานของตนเองไม่เห็น
- การ Login เข้าใช้งานในระบบ MAXLEARN ให้เข้าไปใน https://course.ku.ac.th/ พิมพ์ username และใส่password หลังจากนั้น กด submit เพื่อเข้าสู่ รายละเอียดในรายวิชาที่ตนเองเรียน
- เมื่อต้องการส่งงานที่เป็นไฟล์ต่างๆ เช่น WORD ให้เราพิมพ์งานลงใน word และ Save ให้เรียบร้อยเสียก่อน และให้ตั้งชื่อเป็น File ภาษาอังกฤษ เพราะจะทำให้ไม่มีปัญหาในภายหลัง กดเลือก browse ไฟล์งานที่เตรียมไว้ ควรบอกชื่อนามสกุลของตนเอง และบอกรายละเอียดในการส่ง งานไม่ควรมีขนาดโตเกินกว่าที่กำหนดและไม่ควรส่ง Zip file
- การใช้ Talkstd ในการคุยโต้ตอบกับเพื่อนเรื่องงานที่ได้รับมอบหมาย และ ใช้ TalkAjarn ในการสอบถาม
อาจารย์ ในเรื่องการเรียน
- การเปิดดูในกรอบด้านขวามือ ให้คลิกที่ตัวข้อความเลย เพื่อเข้าไปศึกษาค้นคว้า และอ่านคำสั่ง และโพสต์สรุปผล
การเรียนรู้ และอภิปรายร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ และมีอภิปรายเสร็จทั้งหมดแล้วให้ย้อนกลับมาโพสต์สรุปงานของทั้งหมดของกลุ่มไว้ที่หน้าแรก
- ข้าพเจ้าคิดว่าหากอาจารย์สามารถตรวจผลงาน และส่งกลับมาเพื่อให้นิสิตแก้ไข เป็นระยะๆ จะทำให้นิสิตสามารถแก้ไขงานต่างๆได้ตามลำดับขั้นตอนที่อาจารย์กำหนด และงานจะมีประสิทธิภาพได้ยิ่งขึ้น
ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนระบบออนไลน์ ทั้งทางด้านความหมายของรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) blended Learning, E- learning และ WebQuest จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าและคนอื่นๆได้ศึกษามาจากการทำงานและการอภิปรายกลุ่มย่อย ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึงความหมาย ความแตกต่าง และความสำคัญของการจัดรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนในอนาคต
นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการในการสร้างBlog เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในตอนแรกข้าพเจ้าคิดว่าการทำ Blog มีใว้เพื่อความบันเทิงเพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนในวิชานี้นั้นทำให้ข้าพเจ้าสามารถนำมาปรับใช้ในสถานการณ์ในห้องเรียนได้จริง เช่น ข้าพเจ้าทำ blog ส่วนตัวเพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้ซักถามสิ่งที่ตนสงสัย ในเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาและวิชาเรียน และ ทำ blog ของชมรม Movie Club เพื่อให้นักเรียนในชมรมมีโอกาสได้พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพยนตร์ต่างๆที่ได้ชมมาในชมรม เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งนักเรียนจะต้องมา Post Comment ทุกครั้งหลังชมภาพยนตร์จบ ซึ่งช่วยฝึกฝนทักษะทางภาษาของนักเรียนได้ดีขึ้น แม้ว่าข้าพเจ้าจะเริ่มทำได้เพียงไม่กี่อาทิตย์ แต่ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่านักเรียนจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆที่ข้าพเจ้าพยายามทำให้นอกเหนือจากในห้องเรียน
ส่วนในเรื่องของ WebQuest นั้นในตอนแรก ถึงแม้ว่าเป็นคำมี่ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่จากการที่ได้ศึกษาในวิชานี้ข้าพเจ้าพบว่า WebQuest เป็นสิ่งใหม่และน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะแก่การจัดการเรียนการสอนในยุคเทคโนโลยี ซึ่งทำให้การเรียนการสอนไม่ถูกจำกัดในห้องเรียน
นอกจากข้าพเจ้า จะทำให้ข้าพเจ้านำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแล้วนั้น วิชานี้ยังได้พัฒนาตัวของข้าพเจ้าเพื่อให้ได้เรียนรู้ทักษะต่างๆจากการใช้งาน ระบบ MAXLEARN ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนในวิชาต่อๆไป ดังนี้
- ประการแรก สิ่งที่ต้องระวังและแก้ไขก่อนเสมอเมื่อใช้งาน ใน webboard คือ ต้องแก้กรอบสี่เหลี่ยมสีขาว ด้านบน
ที่อยู่ขวามือสุด เข้าไปแก้ไขที่ edit your preferences ให้เปลี่ยนเวลาจาก 7 วัน เป็น 99 วัน เพื่อให้แสดงได้ นาน 99 วัน หากไม่แก้ไขเมื่อเกินเวลาที่กำหนดให้ เราะจมองงานของตนเองไม่เห็น
- การ Login เข้าใช้งานในระบบ MAXLEARN ให้เข้าไปใน https://course.ku.ac.th/ พิมพ์ username และใส่password หลังจากนั้น กด submit เพื่อเข้าสู่ รายละเอียดในรายวิชาที่ตนเองเรียน
- เมื่อต้องการส่งงานที่เป็นไฟล์ต่างๆ เช่น WORD ให้เราพิมพ์งานลงใน word และ Save ให้เรียบร้อยเสียก่อน และให้ตั้งชื่อเป็น File ภาษาอังกฤษ เพราะจะทำให้ไม่มีปัญหาในภายหลัง กดเลือก browse ไฟล์งานที่เตรียมไว้ ควรบอกชื่อนามสกุลของตนเอง และบอกรายละเอียดในการส่ง งานไม่ควรมีขนาดโตเกินกว่าที่กำหนดและไม่ควรส่ง Zip file
- การใช้ Talkstd ในการคุยโต้ตอบกับเพื่อนเรื่องงานที่ได้รับมอบหมาย และ ใช้ TalkAjarn ในการสอบถาม
อาจารย์ ในเรื่องการเรียน
- การเปิดดูในกรอบด้านขวามือ ให้คลิกที่ตัวข้อความเลย เพื่อเข้าไปศึกษาค้นคว้า และอ่านคำสั่ง และโพสต์สรุปผล
การเรียนรู้ และอภิปรายร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ และมีอภิปรายเสร็จทั้งหมดแล้วให้ย้อนกลับมาโพสต์สรุปงานของทั้งหมดของกลุ่มไว้ที่หน้าแรก
- ข้าพเจ้าคิดว่าหากอาจารย์สามารถตรวจผลงาน และส่งกลับมาเพื่อให้นิสิตแก้ไข เป็นระยะๆ จะทำให้นิสิตสามารถแก้ไขงานต่างๆได้ตามลำดับขั้นตอนที่อาจารย์กำหนด และงานจะมีประสิทธิภาพได้ยิ่งขึ้น
Subscribe to:
Posts (Atom)